แอดบลู (AdBlue) – คำถามที่พบบ่อย

แอดบลู (AdBlue) – คำถามที่พบบ่อย แอดบลู (AdBlue) คืออะไร? 1. แอดบลู (AdBlue) คืออะไร? น้ำยาแอดบลู AdBlue คือสารละลายยูเรียที่มีความบริสุทธิ์สูง เป็นของเหลวใส ไม่มีสี ไม่เป็นพิษ และไม่ติดไฟ ซึ่งใช้เพื่อลดการปล่อยมลพิษจากรถยนต์ดีเซล 2. ทำไมต้องใช้ แอดบลู (AdBlue) ในรถยนต์ดีเซล? รถยนต์ และรถบรรทุก ที่เป็นเครื่องยนต์ดีเซล มาตรฐาน Euro 5 ขึ้นไป จะติดตั้งระบบ Selective Catalytic Reduction (SCR) เพื่อใช้บำบัดมลพิษ ก่อนปล่อยสู่บรรยากาศ ซึ่งจำเป็นจะต้องใช้น้ำยา แอดบลู (AdBlue) เป็นสารทำปฏิกิริยา ภายในระบบดังกล่าว 3. ต้องเติมแอดบลู AdBlue บ่อยแค่ไหน? อัตราการใช้งาน และความถี่ในการเติม น้ำยาแอดบลู AdBlue จะขึ้นอยู่กับประเภท และขนาดของรถยนต์ หรือรถบรรทุก นั้นๆ … Read more

SCR Technology for diesel engine

SCR Technology SCR Technology คืออะไร? SCR Technology ย่อมาจาก Selective Catalytic Reduction คือเทคโนโลยีที่ใช้ในการบำบัดมลพิษในไอเสียที่เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงภายในเครื่องยนต์ หรือเครื่องจักรขนาดใหญ่ โดยการใช้ก๊าซแอมโมเนีย (Ammonia, NH3), แอมโมเนียน้ำ หรือ แอมโมเนียมไฮดรอกไซด์ (Ammonium hydroxide, Aqueous ammonia, Ammonia water, NH4OH), หรือ สารละลายยูเรีย (Aqueous urea solution, CO(NH2)2) ฉีดเข้าไปที่ไอเสีย และทำปฏิกิริยากับก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ในไอเสีย เพื่อเปลี่ยนเป็นก๊าซไนโตรเจน และไอน้ำ ก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ SCR Technology มีการนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายภายในโรงงานอุตสาหกรรม อาทิเช่น โรงไฟฟ้า, โรงงานปิโตรเคมี, บอยเลอร์ (Boiler), เครื่องกังหัน gas turbine, ตลอดจนกระบวนการเผาไหม้ที่ใช้ความร้อนสูง, ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ SCR … Read more

Refrigerant price

ราคาน้ำยาแอร์ และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อราคาในปัจจุบัน ทำไมน้ำยาแอร์ทุกชนิด จึงมีการปรับราคาขึ้นอย่างมากในช่วงนี้!?! มีลูกค้าหลายๆราย สอบถามกันเข้ามามากในช่วงนี้ ว่าทำไมราคาน้ำยาแอร์ ถึงมีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างมาก เกิดอะไรขึ้น!?! แล้วราคาจะแพงไปอย่างนี้อีกนานมั๊ย วันนี้แอดมินมีคำอธิบายมาให้ดังนี้ น้ำยาแอร์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ส่วนใหญ่นำเข้ามาจากโรงงานผลิตที่ประเทศจีน ซึ่งมีสารตั้งต้นอย่าง Hydrofluoric Acid (HF) และ Trichloroethylene (TCE) เป็นวัตถุดิบหลัก ซึ่งถ้าย้อนไปดูกราฟราคาในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา จะเห็นว่าราคาของ HF มีการปรับเพิ่มขึ้นมาประมาณ 20% ซึ่งแอดมินมองว่าปัจจัยเรื่องต้นทุนวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นอาจไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นเร็วขนาดนี้ นอกเหนือจากเรื่องราคาต้นทุนของวัตถุดิบแล้ว ปัจจัยที่สำคัญต่อมาก็จะเป็นเรื่องของการผลิต ซึ่งต้องใช้พลังงานไฟฟ้าและเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่าตอนนี้ประเทศจีนเองกำลังเผชิญกับภาวะวิกฤติทางด้านพลังงาน อันเนื่องมาจากการขาดแคลนถ่านหินที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า (โดยประเทศจีนพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าด้วยถ่านหินถึง 72% จากแหล่งพลังงานทั้งหมด) การเพิ่มขึ้นของราคาถ่านหินจากช่วงก่อนโควิดอยู่ที่ 100 USD ต่อตัน มาอยู่ที่ราคาปัจจุบัน 240 USD ต่อตัน ทำให้ต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าในจีนเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว  ทำให้โรงงานหลายแห่งประสบปัญหาไฟฟ้าไม่เพียงพอ, ขาดทุน และจำเป็นต้องมีการปรับลดกำลังการผลิตลง หรือหยุดการผลิต!! ปัจจัยที่สำคัญอีกตัวหนึ่งก็คือค่าขนส่งระหว่างประเทศ และในประเทศ เป็นที่ทราบกันดีว่าตั้งแต่ต้นปี มาจนถึงปัจจุบัน การขนส่งระหว่างประเทศมีปัญหาทั้งในเรื่องของตู้สินค้าที่มีไม่เพียงพอ, … Read more

Ammonia refrigeration system safety guideline

ข้อควรระวังระบบทำความเย็นแบบแอมโมเนีย เข้าใกล้หน้าร้อนแล้ว Admin TEG จึงขอนำเอาบทความดีๆ เกี่ยวกับ “ข้อควรระวังระบบทำความเย็นที่แบบแอมโมเนียเป็นสารทำความเย็น” มาแบ่งปันกัน เพราะเป็นช่วงเวลาที่โรงงานผลิตน้ำแข็ง และห้องเย็นส่วนใหญ่ก็คงจะเพิ่มกำลังการผลิตกันเต็มที่ เพื่อให้ทันกับปริมาณความต้องการบริโภคที่เพิ่มมากขึ้น แต่ถึงแม้ว่าจะต้องเร่งกำลังการผลิต ยังงัยก็อย่าลืมคำนึงถึงความปลอดภัยกันด้วยนะครับ จากสถิติการเกิดอุบัติภัยเกี่ยวกับแอมโมเนีย ที่ admin TEG รวมรวมมาในช่วงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 – 2563 ก็จะพบว่า ในแต่ละปีมีเหตุการณ์ก๊าซแอมโมเนียรั่วไหลหลายครั้ง และแต่ละครั้งก็เกิดความสูญเสีย ทั้งต่อชีวิต และทรัพย์สิน ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากขาดการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง และถูกวิธี ซึ่งในบทความนี้จะกล่าวถึงแนวทางในการตรวจเช็คระบบทำความเย็นที่ใช้แอมโมเนียเป็นสารทำความเย็นเบื้องต้น >> สถิติการเกิดอุบัติภัยเกี่ยวกับแอมโมเนีย แนวทางในการตรวจเช็คระบบทำความเย็นแบบแอมโมเนียเบื้องต้น   1. ระบบทำความเย็น และอุปกรณ์ส่วนควบคุม ต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ปลอดภัยเพียงพอในการใช้งาน เช่น ไม่มีการผุกร่อน การรั่วซึม มีการตรวจสอบความปลอดภัยในการใช้งานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยวิศวกรที่มีความชำนาญ และมีแผนบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง 2. ภาชนะรับแรงดันในระบบทำความเย็น เช่น ถังพักน้ำยา (Receiver Tank), ถังแยกน้ำมัน (Oil … Read more

Thailand HFCs Phase-down Plan

แนวโน้มการลดใช้สารทำความเย็น HFCs สำหรับประเทศไทย (HFCs Phase Down) ในปัจจุบัน ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น รวมไปถึงผู้ติดตั้ง ระบบทำความเย็น และระบบปรับอากาศต่างๆ (HVAC) เกือบทั้งหมด ได้เปลี่ยนมาใช้สารทำความเย็น หรือน้ำยาทำความเย็น (Refrigerants) ประเภท HFCs (Hydrofluorocarbon) เช่น R32, R410A, R404A, R134a เป็นต้น เพื่อทดแทนสารทำความเย็นประเภท HCFCs (Hydrochlorofluorocarbon) อย่าง R22 ซึ่งจะถูกห้ามไม่ให้นำเข้าในที่สุด (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน “แนวโน้มการลดใช้สารทำความเย็น HCFCs สำหรับประเทศไทย (HCFCs Phase-Out”)) อย่างไรก็ตาม สารทำความเย็น HFCs เหล่านี้ ก็ยังถือว่ามีค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (ค่า GWP) และค่าศักยภาพในการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (ค่า ODP) ที่สูงอยู่ดี ดังนั้น ในการประชุมของประเทศภาคีสมาชิกพิธีสารมอนทรีออล ครั้งล่าสุด ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม … Read more

Thailand HCFCs Phase-Out Management Plan Stage I

แนวโน้มการลดใช้สารทำความเย็น HCFCs สำหรับประเทศไทย (HCFCs Phase-Out) หากกล่าวถึงสารทำความเย็น หรือน้ำยาทำความเย็น (Refrigerants) ประเภท HCFCs ซึ่งเป็นที่รู้จักและใช้กันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ สาร HCFC-22 (หรือ R22) ซึ่งใช้เป็นน้ำยาทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศ, ระบบปรับอากาศ (HVAC), และ สาร HCFC-141b (หรือ R141b) ซึ่งใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตโฟม และใช้เป็นน้ำยาล้างทำความสะอาดระบบทำความเย็น เป็นต้น ซึ่งสาร HCFCs เหล่านี้มีค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential หรือ ค่า GWP) และค่าศักยภาพในการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (Ozone Depletion Potential หรือ ค่า ODP) ในปริมาณที่ค่อนข้างสูง และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม จึงทำให้หลายๆประเทศทั่วโลก และหลายๆองค์กร เริ่มหันมาให้ความสำคัญ และรณรงค์ให้มีการลด ละ เลิก การใช้สารที่ทำลายชั้นบรรยากาศโอโซนเหล่านี้ และเกิดเป็นสนธิสัญญาการร่วมมือกันระหว่างประเทศ ที่เรียกว่า “พิธีสารมอนทรีออลว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน … Read more