แนวโน้มการลดใช้สารทำความเย็น HFCs สำหรับประเทศไทย (HFCs Phase Down)

ในปัจจุบัน ผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น รวมไปถึงผู้ติดตั้ง ระบบทำความเย็น และระบบปรับอากาศต่างๆ (HVAC) เกือบทั้งหมด ได้เปลี่ยนมาใช้สารทำความเย็น หรือน้ำยาทำความเย็น (Refrigerants) ประเภท HFCs (Hydrofluorocarbon) เช่น R32, R410A, R404A, R134a เป็นต้น เพื่อทดแทนสารทำความเย็นประเภท HCFCs (Hydrochlorofluorocarbon) อย่าง R22 ซึ่งจะถูกห้ามไม่ให้นำเข้าในที่สุด (ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน “แนวโน้มการลดใช้สารทำความเย็น HCFCs สำหรับประเทศไทย (HCFCs Phase-Out”))

อย่างไรก็ตาม สารทำความเย็น HFCs เหล่านี้ ก็ยังถือว่ามีค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (ค่า GWP) และค่าศักยภาพในการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน (ค่า ODP) ที่สูงอยู่ดี ดังนั้น ในการประชุมของประเทศภาคีสมาชิกพิธีสารมอนทรีออล ครั้งล่าสุด ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2016 ณ กรุงคิกาลี (Kigali) และได้มีข้อตกลงร่วมกัน (ที่เรียกว่า Kigali Amendment) ในการลดปริมาณการใช้ และการผลิต สารทำความเย็นประเภท HFCs ลงอีก 85% เพื่อให้เหลือเพียง 15% ของปริมาณการใช้งานในปัจจุบัน ซึ่งมีแผนในการลดการใช้สาร ดังนี้

กลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว แบ่งย่อยออกเป็น 2 กลุ่ม

  • กลุ่มที่ 1 ประเทศที่พัฒนาแล้วเกือบทั้งหมด เริ่มควบคุมปริมาณในปี 2019 และเป้าหมายลดลงเหลือ 15% ในปี 2036
  • กลุ่มที่ 2  ประเทศ Belarus, the Russian Federation, Kazakhstan, Tajikistan, Uzbekistan เริ่มควบคุมปริมาณในปี 2020 และเป้าหมายลดลงเหลือ 15% ในปี 2036
HFCs phase down_Developed countries
Picture 1 : HFCs Phase-down schedule for developed countries

กลุ่มประเทศกำลังพัฒนา แบ่งย่อยออกเป็น 2 กลุ่ม

  • กลุ่มที่ 1 ประเทศที่กำลังพัฒนาแล้วเกือบทั้งหมด รวมถึงประเทศไทย เริ่มควบคุมปริมาณในปี 2024 (พ.ศ. 2567 หรือ ในอีก 5 ปีข้างหน้า) และเป้าหมายลดลงเหลือ 20% ในปี 2045 (พ.ศ. 2588)
  • กลุ่มที่ 2 ประเทศ Bahrain, India, Iran, Iraq, Kuwait, Oman, Pakistan, Qatar, Saudi Arabia, UAE เริ่มควบคุมปริมาณในปี 2028 และเป้าหมายลดลงเหลือ 15% ในปี 2047
HFCs phase down_Developing countries
Picture 2 : HFCs Phase-down schedule for developing countries
HFC phase down timeline
Picture 3 : HFC Phase-down timeline (credited pictures from www.unenvironment.org)

สาร HFCs ที่จะถูกควบคุม และลดปริมาณการใช้ ภายใต้ Kigali Amendment ได้แก่

Annex F : Controlled Substances 
Group I100-Year Global Warming Potential
HFC-32675
HFC-4192
HFC-1253,500
HFC-1341,100
HFC-134a1,430
HFC-143353
HFC-143a4,470
HFC-15253
HFC-152a124
HFC-16112
HFC-227ea3,220
HFC-236cb1,340
HFC-236ea1,370
HFC-236fa9,810
HFC-245ca693
HFC-245fa1,030
HFC-365mfc794
HFC-43-10mee1,640
HFC-1234yf (HFO-1234yf)4
HFC-1234ze (HFO-1234ze)6
HFC-1336mzz (HFO-1336mzz)9
Group II 
HFC-2314,800

สารทำความเย็นทดแทน (Alternative refrigerants)

หากประเทศไทย เริ่มดำเนินการควบคุมปริมาณการนำเข้าตามระยะเวลาและเป้าหมายที่กำหนดแล้ว คำถามต่อมาก็คือ แล้วสารทำความเย็นที่จะมาทดแทนสาร HFCs ล่ะ จะเป็นสารอะไร? หรือ เป็นสารประเภทไหน? ซึ่งจริงๆแล้ว ทั้งทางผู้ผลิต หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้กันมานานแล้ว และเริ่มมีการทดลองใช้ หรือใช้สารทำความเย็นที่เป็นทางเลือกกันมากยิ่งขึ้นอย่างเช่น แอมโมเนีย (Ammonia (NH3) หรือ R717), คาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon Dioxide หรือ CO2) ตลอดจน สารทำความเย็นธรรมชาติ หรือ สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Natural Refrigerants) ได้แก่ R290 (หรือPropane), R600a (หรือ isobutane), R1270 (หรือ propylene) เป็นต้น ซึ่งสารทำความเย็นประเภทนี้ จัดเป็นก๊าซประเภท Hydrocarbon (HCs) และเริ่มมีการนำมาใช้กันในอุตสาหกรรมผลิตตู้เย็น ตู้แช่ และเครื่องปรับอากาศ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ

ในตอนต่อไป เราจะมาพูดถึงสารทำความเย็นธรรมชาติ หรือสารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Natural Refrigerants) ว่ามีคุณสมบัติอย่างไร หรือมีการนำไปใช้งานใน application อะไรกันได้บ้าง ตลอดจน ข้อดี – ข้อเสียของสารทำความเย็นธรรมชาติเหล่านี้ เพื่อการพิจารณาใช้งานในอนาคตต่อไป

อ้างอิง

  • UNEP OzonAction Fact Sheet: The Kigali Amendment to the Montreal Protocol: HFC Phase-down
  • www.unenvironment.org